ไวรัสตับอักเสบบี

Posted by

ประเทศไทยมีการตรวจพบ “ไวรัสตับอักเสบบี” เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย หากเป็นต่อเนื่องเรื้อรังจะเกิดพังผืดที่ตับ อันก่อให้เกิดโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับได้ ซึ่งเป็นโรคมะเร็งประเภทที่พบมากที่สุดในหมู่คนไทย

ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ?

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)  มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B virus; HBV)  ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายอย่างยิ่ง  หากได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับรักษา อาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง  ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยสามารถติดต่อผ่านทางการคลอด การสัมผัสเลือดหรือแผลเปิดของผู้ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และการใช้อุปกรณ์ที่แหลมคมหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น  เข็มฉีดยา มีดโกนหนวด หรือแปรงสีฟัน

ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อได้อย่างไร ?

  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการติดเชื้อขณะลูกคลอดจากแม่ที่มีเชื้อนี้อยู่ (มีโอกาสได้รับเชื้อมากถึง 90%) หากไม่ได้รับการตรวจรักษาก่อนวางแผนมีบุตร
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้เข็มเจาะ สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหูที่ไม่ได้ทำจากอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างมีมาตรฐาน
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการถูกเข็มทิ่มตำจากการทำงาน ในกรณีของบุคลากรทางการแพทย์
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล

อาการของไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 2 ระยะ

  1. อาการไวรัสตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน
  2. อาการไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง

การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบี

รวจเลือดประเมินดู HBeAg และ HBeAb ซึ่งเป็นตัวที่บ่งบอกว่าโรคอยู่ในระยะที่ไวรัสกำลังแบ่งตัวหรือผ่านระยะที่ไวรัสแบ่งตัวไปแล้ว ตรวจ ALT (alanine aminotransferase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อยู่ในเซลล์ตับ ถ้าค่าอยู่ในระดับปกติให้ติดตาม ALT ทุก 3-6 เดือน ในกรณีที่ HBeAg เป็นลบแต่ผู้ป่วยมี ALT ผิดปกติ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ เช่น ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี มีภาวะตับแข็งและมะเร็งตับในครอบครัว ตรวจร่างกายพบลักษณะของการมีโรคตับเรื้อรัง ALT อยู่ในเกณฑ์มากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าปกติ อัลตราซาวนด์มีลักษณะผิดปกติของตับ ควรตรวจดูปริมาณไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบีมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาฉีด pegylated-interferon alpha และยารับประทาน (oral nucleoside/nucleotide analogs) โดยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของการรักษาด้วย 2 วิธีมีดังต่อไปนี้

ยาฉีด pegylated-interferon alpha

  • ออกฤทธิ์เป็น immunomodulator โดนหวังผลให้เกิด long-term immunological control จึงไม่มีปัญหาเรื่อง HBV resistance
  • มีระยะเวลาการรักษาที่แน่นอน
  • พบผลข้างเคียงได้บ่อย เช่น flu-like symptoms, fatigue, mood disturbances, cytopenias, autoimmune disorder
  • ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย decompensated cirrhosis
  • การตัดสินใจรักษาด้วยยากลุ่มนี้ควรใช้ข้อมูลอื่นมาประกอบ เช่น HBV DNA, HBeAg หรือ HBsAg titer เพื่อช่วยในการประเมินโอกาสการตอนสนองต่อการรักษา

ยารับประทานชนิด oral nucleoside/nucleotide analogs

  • ออกฤทธิ์ยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จึงอาจทำให้เกิด HBV resistance เมื่อรักษาไประยะหนึ่ง โดยยากลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็นอีก 2 กลุ่มตามโอกาสในการเกิด HBV
    resistance คือ low barrier to resistance (ได้แก่ lamivudine, adefovir และ telbivudine) และ high barrier to resistance (ได้แก่ entecavir, tenofovir disoproxil
    fumarate (TDF) และ tenofovir alafenamide (TAF))
  • ไม่มีระยะเวลาการรักษาแน่นอน คือรับประทานยาไปจนกว่าจะถึง treatment endpoint คือ HBeAg seroconversion ใน HBeAg positive หรือ HBsAg
    loss/seroconversion ใน HBeAg negative
  • พบผลข้างเคียงได้แต่มักไม่รุนแรง เช่น lamivudine (เกิด pancreatitis, lactic acidosis) หรือ TDF (nephropathy, Fanconi syndrome, osteomalacia, lactic
    acidosis)

สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับไวรัสตับอีกเสบบี

  • ไวรัสตับอีกเสบบีไม่ติดต่อผ่านการกอด
  • ไวรัสตับอีกเสบบีไม่ติดต่อผ่านการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
  • ไวรัสตับอีกเสบบีไม่ติดต่อผ่านการใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน
  • ไวรัสตับอีกเสบบีไม่ติดต่อผ่านการรัปทานอาหารและใช้ช้อนส้อมร่วมกัน

วิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบีสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน กลุ่มคนที่เข้าข่ายควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีมากที่สุด ได้แก่ เด็กทารกแรกเกิด แต่ผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทานหรือไม่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ตอนเด็ก หากต้องการฉีดควรทำการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบีเสียก่อน กลุ่มเสี่ยงจริงๆ ที่แพทย์เน้นย้ำให้ฉีดวัคซีนป้องกัน คือ บุคคลที่อยู่ในครอบครัวของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่มีความเสี่ยงบ่อย ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันบ่อยครั้ง โดยการฉีดจะต้องฉีดให้ครบจำนวน 3 เข็ม จึงจะสามารถป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีได้

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ไวรัสตับอักเสบบี https://www.bumrungrad.com/th/conditions/hepatitis-b
  • ไวรัสตับอักเสบบี รักษาได้ก่อนกลายมะเร็งตับ https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ไวรัสตับอักเสบบี
  • ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายกว่าที่คุณคิด https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/Viral-Hepatitis-B
  • ตับอักเสบบีคืออะไร? https://www.napneung.net/single-post/2017/10/18/ต-บอ-กเสบบ-ค-ออะไร
  • รู้เท่าทัน ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/531
  • “ไวรัสตับอักเสบบี” โรคร้ายที่คุณป้องกันได้ https://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/health_article/detail/?page=“ไวรัสตับอักเสบบี”-โรคร้ายที่คุณป้องกันได้