ไวรัสตับอักเสบซี | Hepatitis C

Posted by

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus: HCV) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิด ซี สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี การถ่ายทอดจากมารดาไปสู่ทารกพบได้น้อยมาก ส่วนการดื่มน้ำโดยใช้แก้วร่วมกัน การจูบกอด การสัมผัสร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาก็จะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด

การติดต่อของ ไวรัสตับอักเสบซี

  • ผ่านทางเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผ่านเลือด หรือสัมผัสถูกบาดแผล
  • ผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผ่านการสัก เจาะหู หรือฝังเข็ม ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม

อาการ ไวรัสตับอักเสบซี

อาการ ไวรัสตับอักเสบซี Hepatitis C

อาการของไวรัสตับอักเสบจากเชื้อไวรัส จะมีอาการคล้ายๆ กัน คือ

  • ดีซ่าน
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดชายโครงขวา
  • ตับม้ามโต

โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่หลังติดเชื้อแล้ว จะไม่มีอาการอะไรเลย ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวเลยว่ามีโรคอันตรายซ่อนแฝงอยู่ถ้าไม่ได้ตรวจเลือด ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณ 15-20% อาจหายจากโรคได้เอง แต่ส่วนใหญ่ 75-85% จะเป็นเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาก็จะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัย ไวรัสตับอักเสบซี

แพทย์จะทำการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หากตรวจพบเชื้อแพทย์ก็จะส่งตรวจทำอัลตราซาวนด์ตับ เพื่อดูว่ามีร่องรอยของตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่ ในกรณีที่ผลของอัลตราซาวนด์ยังไม่ชัดเจน แพทย์ก็จะส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่มเติม สำหรับในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจชิ้นเนื้อตับโดยใช้เข็มขนาดเล็กเข้าไปตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อตับมาตรวจดูทางพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นการตรวจวิเคราะห์โรคที่แม่นยำอีกวิธีหนึ่งก่อนทำการรักษา

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติด ไวรัสตับอักเสบซี

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนอยู่บ่อยครั้ง
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่เคยได้รับเลือดและ/หรือรับบริจาคอวัยวะก่อนปี พ.ศ. 2535
  • ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการฟอกไตเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีมารดาเป็นผู้ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง
  • ผู้ที่มีค่าเอนไซม์ของตับผิดปกติ
  • ผู้ที่สัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ไวรัสตับอักเสบซี

การป้องกัน ไวรัสตับอักเสบซี

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • สวมถุงมือทุกครั้งถ้าต้องสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่ง
  • ไม่ใช้มีดโกนหนวดร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้แปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น

การรักษา ไวรัสตับอักเสบซี

การรักษา ไวรัสตับอักเสบซี Hepatitis C

ไวรัสตับอักเสบซี สามารถรักษาให้หายได้โดยการรับประทานยาร่วมกับยาฉีด โดยแพทย์จะพิจารณาตามระยะอาการของโรคในการรักษา หากตรวจพบเจอและรักษาตั่งแต่เนิ่นๆ สามารถกำจัดเชื้อให้หายขาดอย่างถาวร และช่วยป้องกันไม่ให้เข้าสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็น ไวรัสตับอักเสบซี

  • ทำจิตใจให้สบาย อย่าวิตกกังวลหรือมีความเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม
  • งดบริจาคเลือด อวัยวะ หรือน้ำอสุจิ
  • หลีกเลี่ยงการใช้แปรงสีฟัน และของมีคมร่วมกับผู้อื่น
  • งดใช้สารเสพติดทุกชนิด
  • ตรวจเลือดเป็นระยะๆ (ทุก 3-6 เดือน) ตามที่แพทย์นัด เพื่อเฝ้าดูการดำเนินของโรค

ขอบคุณข้อมูล : samitivejhospitals, bumrungrad

อ่านบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสตับอักเสบซี เมื่อเข้าสู่ร่างกาย อาการจะไม่รุนแรง ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่าตนเองเริ่มมีอาการตับอักเสบ ถ้าปล่อยไว้จะเข้าสู่ระยะตับแข็ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดมะเร็งตับได้ ดังนั้นควรตรวจคัดกรองหาไวรัสตับอักเสบซี เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ